• LinkedIn
  • Join Us on Google Plus!
  • Subcribe to Our RSS Feed

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กาแล็กซี่ทางช้างเผือก

สิงหาคม 08, 2564 // by curayou // No comments

ส่วนแรกทดสอบก่อนเรียนนะครับ👇



1. โครงสร้างกาแล้กซี่ทางช้างเผือกประกอบด้วยอะไรบ้างที่สำคัญ

        ..................................................... 

    2. เราสังเกตทางช้างเผือกจากกลุ่มดาวอะไร

        ..................................................

    3. ชื่อ นามสกุล ชั้น เลขที่

       ......................................

    4. วัน เดือน ปี 

------------------------------------------------------------------
ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇
 
  กาแล็กซี่ทางช้างเผือก 
    กาแล็กซี่ทางช้างเผือกนั้นจัดเป็นกาแล็กซี่คล้ายกังหัน และมีคานยาว เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ค้นพบดาวยูเรนัสได้ทำการสำรวจความหนาแน่นของดาวบนท้องฟ้าและวาดภาพว่า ดวงอาทิตย์อยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก หนึ่งศตวรรษต่อมา ฮาร์โลว์ แชพลีย์ (Harlow Shapley) ทำการวัดระยะทางของกระจุกดาวทรงกลม (global cluster) ซึ่งห่อหุ้มกาแล็กซี พบว่ากระจุกดาวเหล่านี้อยู่ห่างไปจากโลกนับหมื่น
ปีแสง กระจายตัวอยู่รอบล้อมส่วนป่องของกาแล็กซี ดังนั้นดวงอาทิตย์ไม่น่าจะอยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก แต่อยู่ที่ระยะห่าง3 ใน 5 ของรัศมีกาแล็กซี มวลรวมของทางช้างเผือกภายในวงโคจรของดวงอาทิตย์วัดได้ 9 x 10ู^10 เท่าของดวงอาทิตย์ จากนั้นทำการตรวจวัดมวลของกาแล็กซีด้านนอกของวงโคจรดวงอาทิตย์เพิ่มเติมโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ พบว่ามวลทั้งหมดของกาแล็กซีทางช้างเผือกควรจะเป็น 6 x 1011 เท่าของดวงอาทิตย์ ในจำนวนนี้เป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ แก๊สและฝุ่น แต่ที่สังเกตได้โดยตรงด้วยแสงมีเพียง 10% ของมวลทั้งหมดเท่านั้น ฉะนั้นมวลสารส่วนใหญ่ของกาแล็กซีอีก 90% ที่เหลือจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งอาจจะเป็นหลุมดำขนาดเล็ก ดาวที่เย็นมาก หรืออนุภาคขนาดเล็กจำนวนมาก นักดาราศาสตร์จึงเรียกวัตถุเหล่านี้โดยรวมว่า “สสารมืด (Dark Matter)”

        โครงสร้างของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกประกอบด้วย นิวเคลียส จาน ฮาโล บริเวณนิวเคลียสของ                กาแล็กซีที่มีดาวฤกษ์หนาแน่นที่สุด บริเวณฮาโลที่มีขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมดของ            กาแล็กซีทางช้างเผือก ถามว่าระบบสุริยะอยู่ที่ตำแหน่งใดในกาแล็กชีทางช้างเผือก พบว่าอยู่                ตรงบริเวณแขนข้างหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก 

         ข้อแตกต่างของกาแล็กซีทางช้างเผือกและทางช้างเผือกแตกต่างกันอย่างไร

            กาแล็กซี่ทางช้างเผือกเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนมากที่อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วง มีลักษณะคล้ายกังหันมีคาน ทงช้างเผือกเป็นแสงจากดาวฤกษ์จำนวนมากที่อยู่ในแนรระนาบของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มองเห็นได้จากโลกโดยจะเห็นป็นแถบฝ้าจาง ๆพาดผ่านท้องฟ้าเป็นทางยาว

        ทางช้างเผือกที่เรามองเห็นได้จากโลกคือส่วนใดของกาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นกลุ่มดาวฤกษ์บริเวณจานและนิวเคลียสของกาแล็กซีทางช้างเผือก

        เราสามารถสังเกตเห็นทางช้างเผือกได้ในช่วงเดือนใด จากกลุ่มดาวอะไร ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตทางข้างเผือกได้แก่ปลายเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม โดยใจกลางของทางช้างเผือกจะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องและกลุ่มดาวคนยิงธนู

        เพราะเหตุใดในแต่ละเดือนเราจึงเห็นทางช้างเผือกมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากโลกเปลี่ยนตำแหน่งในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้คนบนโลกมองเห็น แถบฝ้าของทางช้างเผือกเปลี่ยนแปลงไปตามมุมมองของผู้สังเกตบนโลก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หน้า HTML ตัวอย่าง

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น