ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇ความรู้ทั่วไปโอ้ดาวฤกษ์ที่เกิดในเอกภพนี้ ดูช่างมีมากมายหลายเหลือล้น
ทั้งรู้จักไม่รู้จักมักคุ้นอย่าหมองมน เพราะชีวิตคนอาศัยแสงสว่างจากดววงดาว
โอ้ดาวฤกษ์แต่ละดวงต้องมนต์ขลัง มีพลังมากมายอย่างสุดหาว
มีคุณสมบัติแตกต่างกันแต่ละดวงดาว ไม่ใช่หนุมานจะได้หาวเป้นดาวเดือน
ทั้ง ความสว่าง อุณหภูมิ สี และสเปคตรัม คือคุณสมบัติที่แตกต่างอย่าได้เหมือน
แต่ละดวงศึกษาอย่าได้เชือนแช ให้แน่วแน่ว่ารู้ดวงใดเป็นดวงใด
ความสว่างที่ส่องมาจากไกลพ้น ให้ผู้คนได้เห็นว่าดาวอยู่ที่ไหน
หากเห็นสว่างน้อย ยิ่งมาจากแดนไกล เอาโชติมาตรวัดไว้ ดวงใดสว่างกว่ากัน
อีกทั้งอุณหภูมิอีกหนาศึกษาไว้ ดาวดวงใด ปล่อยแสงสีและสเปคตรัม
อุณหภูมิสูง อุณหภูมิต่ำไม่เหมือนกัน สเปคตรัมปล่อยออกมาน่าชื่นชม
ต้นกำเนิดของดาวฤกษ์ที่เจิดจ้า ที่เนบิวลาเกิดการยุบตัวอย่างสาสม
ด้วยแรงมากมายคือแรงโน้มถ่วงสากล จึงบันดลให้ดาวฤกษ์ได้เกิดมา
แล้วมวลเจ้าเบาหรือหนักช่วยวานบอก ไม่รู้หรอกเพราะมีวิวัฒนการหนา
เมื่อเวลาเปลี่ยนไปมวลเปลี่ยนไปตามประสา เหมือนมีชีวาดังมนุษย์ของเราเอย
1.ความสว่างของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์เปรียบเสมือนลูกบอลร้อน ๆ ที่กำลังแผ่ความร้อนออกมาเรื่อย ๆ จึงไม่มีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ แก๊สที่ของดาวฤกษ์ที่สำคัญคือ ไฮโดรเจกับฮีเลียม เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เป็นดวงไฟที่ลุกโชติช่วงในเอกภพ
พลังงานที่ส่องออกมาจากดาวฤกษ์เป้นพลังงานความร้อนที่มากมาย นอกจากนี้ยังมีวาม สว่างส่องออกมาด้วย
ความสว่างของวัตถุบนท้องฟ้า เรียกว่า โชติมาตร(Magnitude) อันดับของความสว่าง ค่าโชติมาตรยิ่งสูง ความสว่างยิ่งน้อย ค่าโชติมาตรยิ่งลดลง ความสว่างยิ่งมากขึ้น สลับกันนะ ครับ ผกผันกันอย่าลืม
ค่าโชติมาตรมี 2 ค่า คือ โชติมาตรปรากฎและโชติมาตรสัมบูรณ์
ค่าโชติมาตรปรากฎ เป็นค่าที่เราวัดบนโลก ไม่ใช่ค่าที่บอกความสว่างที่แท้จริงของ ดวงดาวได้ นักเรียนลองคิดถึงสถานการณ์
ค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ เป็นค่าที่เราวัดความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวได้
นักเรียนลองคิดถึงสถานการณ์
1. หลอดไฟ 2 หลอด มีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
2. เมื่อเปิดหลอดไฟทั้ง 2 หลอด
3. ผลคือว่า
3.1 หลอดไฟมีค่าโชติมาตรสัมบูรณ์เท่ากัน ความสว่างเท่ากัน พลังงานออกมาเท่ากัน
3.2 หลอดไฟทั้ง 2 จะมีค่าโชติมาตรปรากฎเท่ากัน ถ้าเราวัดห่างจากหลอดไฟเท่ากัน ที่ไหนก็ได้ ขอให้มีระยะห่างต่างกัน
3.3 หลอดไฟทั้ง 2 จะมีค่าโชติมาตรปรากฎต่างกัน ถ้าเราวัดห่างจากหลอดไฟไม่เท่า กัน เช่น คนหนึ่งวัดที่โคราช อีกคนวัดที่สงขลา
ค่าโชติมาตรปรากฎหาได้จาก
หาค่าโชติมาตรสัมบูรณ์หาได้จาก
เพื่อให้การเปรียบเทียบกำลังของความสว่างของดาวฤกษ์ จึงมีค่าอ้างอิง เอาไว้เป็นตัวเปรียบเทียบ โดยกำหนดให้มีการเปรียบเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากโลกเทากับ 10 พาร์แซก หรือประมาณ 32.6 ปีแสง
2. สี อุณหภูมิ และสเปคตรัมของดาวฤกษณ์
นักวิทยาศาสตร์ท่านก็ช่างน่านับถือเสียจริงว่า จะเดินทางไปวัดอุณหภูมิของดวงอาทิตยืที่เป็นดาวฤกษ์ได้อย่างไร แล้วนักวิทยาศาตร์ค้นหาวิธีวัดอุณหภูมิได้อย่างไร
อย่าบอนะว่าต้องเดินทางไปที่ดวงอาทิตย์แล้วเอาเทอร์มอมิเตอร์ไปวัด นอกจะเดินทางไปไกลแสนไกลแล้ว อาจะไปครั้งเดียวในชีวิตเลยก็ได้
นักวิทยาศาสตร์ก็วัดที่บนโลกนี้แหละครับ โดยวัดสเปคตรัมจากดาวฤกษณ์ แต่ว่ามีหลายสีนะครับ เอาอย่างไรดี ก็เอาสีที่มีความเข้มมากสุด เมื่อได้ได้ก้ไปวิเคราะห์ว่า มีความยาวคลื่นเท่าใด หลังจากนั้นก้เอาไปคำนวณหาอุณหภูมิได้จากสมการ
ตัวอย่่างของสีกับอุณหภูมิของดาวฤกษ์บางดวง
หมายความว่า ดวงอาทิตย์ให้สเปคตรัมสีเหลืองออกมามีเข้มมากที่สุด แล้วไปหาความยาวคลื่นของสีเหลือง แล้วไปคำนวณหาอุณหภูมิของดวงอาทิตย์
1กลุ่มดาวที่อุณหภูมิสูงมาก จะมีสเปคตรัมสีน้ำเงินหรือน้ำเงินแกมขาว
2กลุ่มดาวที่อุณหภูมิสูง(ต่ำกว่า 1) จะมีสเปคตรัมสีขาว
3กลุ่มดาวที่อุณหภูมิปานกลาง(ต่ำกว่า 2) จะมีสเปคตรัมสีเหลือง
4กลุ่มดาวที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ(ต่ำกว่า 3) จะมีสเปคตรัมสีส้ม แล้วก็แดง
โดยสเปคตรัมของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 7 ประเภทคือ O, B, A, F, G, K, M โดย O จะมีอุณหภูมิสูงสุดดังรูปข้างล่าง
กำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์มีต้นกำเนิดจากเนบิวลา โดยเนบิวลาเป็นกลุ่มของสสารที่เหลือจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือบิกแบง หรือเป็นกลุ่มของสสารที่เหลือจากการจบชีวิตของดาวฤกษ์ เมื่อสสารเกิดการยุบตัวจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar) เมื่อดาวฤกษ์ก่อนเกิดเกิดการยุบตัวด้วยแรงโน้มถ่วง จะทำให้แก่นของดาวนั้นมีความดัน ความหนาแน่น ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 15 ล้านเคลวิน จนทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ จนเกิดเป็นดาวฤกษ์
1. บิกแบง
2. เกิดธาตุ ฝุ่น
3. เกิดการรวมตัวของธาตุ ฝุ่น สสารต่าง ๆ
4. กลายเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่หลายปีแสง เรียกว่าเนบิวลา
5. เริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เพราะมีมวลมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มแก๊สทรงกลม เรียกว่าดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar)
5.1 ดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar)ที่มีมวลน้อย ประมาณ 0.08 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ไม่สามารถเกิดปฏิริยาได้ จีงกลายเป็นดาวแคระ ส่องสว่างเพียงไม่กี่ร้อยล้านปีก็ดับลง
5.2 ดาวฤกษ์ก่อนเกิด(protostar)ที่มีมวลมาก จะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 15 ล้าเคลวิล ทำให้แก็สที่รวมกันนั้น เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ (เป็นปฏิกิริยาลูกโซ์) กลายเป็นดาวฤกษ์ในที่สุด และส่องสว่างได้ประมาณ หมื่นล้านปี
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น