ส่วนแรกทดสอบก่อนเรียนนะครับ👇
ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇
1. หลักการของฮอยเกนส์
คริสเตียน ฮอยเกนส์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหลายอย่าง และที่สำคัญที่เกี่ยวกับหัวข้อนี้คือ เขาได้ศึกษาพฤติกรรมของคลื่น
เขาได้อธิบายพฤติกรรมการแผ่ของคลื่นผ่านตัวกลางชนิดต่าง ๆ จนนำไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆของคลื่นได้ เรียกว่า หลักการของฮอยเกนส์
หลักการของฮอยเกนส์(Huygen 's principle) กล่าวว่า แต่ละจุดบนหน้าคลื่นเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นใหม่(เป็นแบบจุด) ที่ทำให้เกิดหน้าคลื่นวงกลมใหม่ซึ่งส่งคลื่นออกไป โดยคลื่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ จะมีอัตราเร็วและความถี่เท่ากับคลื่นเดิม
หน้าคลื่นใหม่คือ เส้นที่ลากเส้นสัมผัสที่ลากเชื่อมหน้าคลื่นวงกลมด้านหน้าของแหล่งกำเนิดคลื่นแบบจุดที่เกิดขึ้น ณ เวลาเดียวกัน
ให้นักเรียนสังเหตวีดีโอข้างล่างนี้ครับ
2. หลักการซ้อนทับ
สิ่งที่บ่งบอกว่าอะไรเป็นคลื่นหรือเป็นอย่างอื่น สมบัติที่คลื่นแสดงสมบัติได้คือ สมบัติการซ้อนทับของคลื่น
นักเรียนลองจินตนากาหลายเหตุการณ์
เช่น บนทางรถไฟ รถไฟ 2 ขบวนสวนทางกัน เมื่อมาเคลื่อนที่พบกัน รถไฟทั้ง 2 ขบวนก็ไม่สามารถเคลื่นที่ผ่านอีกขบวนได้ นี้เพราะรถไฟไม่มสมับติการซ้อนทับ
แต่กรณีเป็นคลื่น ถ้าคลื่นเคลื่อนที่มาพบกัน พบว่า
สมบัติของคลื่นก่อนเป็นอย่างไร หลังการซ้อนทับ คลื่นก็มีสมบัติเหมือนคลื่นก่อนซ้อนทับ หรือพบกัน แต่ขณะที่พบกัน สมบัติที่เราสามารถวัดได้ท่ี่เปลี่ยนแปลงคือ แอมพลิจูด
โดยขณะที่พบกันแอมพลิจูดรวมหาได้จากผลรวม
กรณ๊มีเฟสเท่ากัน แอมพลิจูดรวมจะเอามาบวกกัน
กรณีมีเฟสตรงข้ามกัน แอมพลิจูดรวมจะเอามาลบกัน
ตัวอย่าง คลื่น C กับคลื่น D มีความเร็ว ความยาวคลื่นเท่ากัน เคลื่อนที่สวนทางกัน และมีเฟสตรงข้ามกัน ถ้าคลื่น C มีแอมพลิจูด 10 หน่วย คลื่น D มีแอมพลิจูด 8 หน่วย ขณะที่ซ้อนอนทับกีนพอดี แอมพลิจูดรวมมีค่าเท่าใด
วิธีทำ
จะเห็นว่าแอมพลิจูดของคลื่น C เท่ากับ 10 หน่วย
จะเห็นว่าแอมพลิจูดของคลื่น D เท่ากับ 8 หน่วย
มีเฟสตรงข้ามกัน
ดังนั้นแอมพลิจูดรวม เทากับ A = I 10-8 I = +2,-2 หน่วย
กรณีเป็นบวกแสดงว่าคลื่น C มีแอมพลิจูดอยู่ด้านบน คลื่น D มีแอมพลิจูดอยู่ด้านล่าง
กรณีเป็นลบแสดงว่าคลื่น C มีแอมพลิจูดอยู่ด้านล่าง คลื่น D มีแอมพลิจูดอยู่ด้านบน
สรุปได้ว่า
เมื่อคลื่น 2 คลื่น เคลื่อนที่มาซ้อนทับกันในตัวกลางหนึ่ง ๆ คลื่นรวม(แอมพลิจูดรวม)จะมีค่าตามหลักการซ้อนทับ หมายความว่า คลื่นรวมจะมีการกระจัดของตัวกลางที่ตำแหน่ง ณ เวลา หนึ่ง ๆ เท่ากับผลบวกของการกระจัดของตัวกลางที่เกิดจากแต่ละคลื่นที่ตำแห่งและเวลานั้น ถ้าคลลื่น 2 คลื่น เคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน เมื่อซ้อนทับกันแล้ว คลื่นแต่ละขบวนก็จะเคลื่อนที่ผ่านคลื่นอีกคลื่นหนึ่งไปได้ โดยคงรูปร่าง ความ เร็ว ความถี่ ความยาวคลื่น และทิศทางการเคลื่อนที่ของแต่ละคลื่นเอาไว้
ให้นักเรียนศึกษาจากวีดรโอข้างล่างนี้ครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนที่ 3 แบบเช็คชื่อ👇
ให้นักเรียนคลิกตามลิงค์ข้างล่าง
1.เพื่อกำกับการเรียน
2.ตอบได้ครั้งเดียว
3.โปรดดูเลขที่ของตนเอง ที่ถูกต้องในเฟสกลุ่ม
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น