ความสว่างของดวงดาว สิงหาคม 31, 2564 // by curayou // No comments ส่วนแรกทดสอบก่อนเรียนนะครับ👇 1. ค่าความสว่างของดวงดาวมีกี่ค่าอะไรบ้าง 2. ดาวหัวใจสิงห์อยู่ห่างจากโลก 25 พาร์เซค มีโชติมาตรปรากฏเท่ากับ 1.36 จงหาค่าโชติมาตรสัมบูรณ์มีเท่าใด 3. ชื่อ นามสกุล 4. ชั้น เลขที่ ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇การจัดอันดับความส่องสว่างของฮิพพาร์คัส ฮิพพาร์คัส (Hipparchus) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวกรีกในช่วง 190 - 127 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคนแรกที่ทำการเปรียบเทียบความส่องสว่างปรากฏ (apparent brightness)ของดาวด้วยตาเปล่า โดยแบ่งดาวตามความสว่าง เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ โชติมาตรปรากฏ และกำหนดเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1- 6 โดยให้ดาวฤกษ์ที่เห็นสว่างที่สุดมีโขติมาตรปรากฎเป็นอันดับต้นสุดคือ 1 และดาวฤกษ์ที่เห็นแสงริบหรี่ หรือสว่างน้อยที่สุดมีโชติมาตรปรากฎอันดับท้ายสุดเป็น 6 ดังนั้นตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงเปรียบเทียบความส่องสว่างปรากฎของดาวบนท้องฟ้าไม่สามรถบอกได้ว่า ดาวที่เห็นสว่างมากกว่าจะต้องมีพลังงานเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นสูงกว่าเสมอไป เพราะมีปัจจัยเกี่ยวกับพลังงาน ขนาด และระยะห่างมาเกี่ยวข้อง โชติมาตรปรากฎของดาวซึ่งเป็นตัวเลข มีความสัมพันธ์อย่างไรกับความส่องสว่างที่ปรากฏต่อสายตา เมื่อเรามองดูดาวบนท้องฟ้า เมื่อโชติมาตรปรากฏของดาวสองดวงต่างกัน 1ดาวทั้งสองจะมีความส่องสว่างต่างกัน 2.512 เท่า โดยดาว 2 ดวงที่มีโขติมาตรปรากฏต่างกัน 2จะมีความสว่างต่างกัน (2.512)ู^2เท่า และดาวสองดวงมีโชติมาตรปรากฏต่างกัน 3 จะมีค่าความส่องสว่างต่างกัน(2.512)^3 เท่าเป็นต้นดาวที่เห็นริบหรี่ที่สุดมิโชติมาตรปรากฎ = 6ดาวที่เห็นสว่างที่สุดมิโชติมาตรปรากฎ = 1โชติมาตรปรากฎต่างกัน 6 - 1 = 5ความส่องสว่างต่างกัน = (2.512)5 = 100 เท่าดังนั้น ดาวที่สว่างที่สุดมีความส่องสว่างมากกว่าดาวที่เห็นริบหรี่ที่สุดเท่ากับ 100 เท่า B1/B2 = 2.512^(m2-m1)โชติมาตรสัมบูรณ์ เป็นการเปรียบเทียบกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์ที่ระยะห่างจากผู้สังเกตเท่ากับ 10 พาร์เซกเท่ากัน เนื่องจากที่ระยะ 10 พาร์เซก ค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ของดาวฤกษ์จะเท่ากับค่าโชติมาตรปรากฏของดาวฤกษ์M = m+5-5log d(pc)M = m+5-5log10(pc)M = m+5-5 M = mตัวอย่าง1 จากข้อมูลโชติมาตรปรากฏของดาวต่ง ๆ ที่กำหนดให้ ดาวดวงใดมีความส่องสว่างมากที่สุด ดาวดวงใดมีความส่องสว่างน้อยที่สุดและเรียงลำดับชื่อดาวตามความส่องสว่างจากมากไปน้อย ข้อมูลคือ ดาวตานกอินทรี (0.77) ดวงจันทร์เต็มดวง (-12.5) ดาวซิริอัส (-1.46)ดาวคาเพลลา (0.09) ดาวไรเจล (0.12) ดาวศุกร์ ( -4.4) ดาวพฤหัสบดี (-2.7)ดวงอาทิตย์ (-26.7) ดาวเวกา (0.04)ตอบ ถ้ามองจากโลก จะเห็นว่าค่าโชติมาตรของดวงอาทิตย์น้อยสุดคือ -26.7 และค่าโชติมาตรมากสุดคือดาวตานกอินทรี มีค่าโชติมาตร 0.77 โดยเหตุที่ว่า ถ้าค่าโชติมาตรน้อยความส่องสว่างจะมาก ถ้าค่าโชติมาตรมากความสว่างจะน้อย ดังนั้นจึงสามารถเรียงอันดับความสว่างได้คือ.........ตัวอย่าง 2 จากตารางจงตอบคำถามก. ดาวดวงใดเมื่อมวงจากโลก จะเห้นสว่างที่สุด (ค่าโชติมาตรปรากฏน้อยสุด)ข.ดาวดวงใดมีอุณหภูมิสูงสุด(ดูสีแล้วเทียบกับตารางสเปคตรัม)ค. ดาวดวงใดมีอุณหภูมิใกล้เคียงดวงอาทิตย์(ดูจากสี แล้วไปดูตารางสเปคตรัม)ตัวอย่าง 3 ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ส่องสว่างสุดโดยมีค่าโชติมาตรเท่ากับ -4 ส่วนดาว X เป็นดาวดวงที่มีความสว่างน้อยสุดริบหรี่น้อยสุดเท่าที่จะมองเห็นมีค่าโชติมาตรเท่ากับ 6 ดาวทั้ง 2 จะมีค่าความส่องสว่างต่างกันกี่เท่าวิธีทำ จากโจทย์ m1 ค่าโชติมาตรของดาวดวงแรก ให้เป็น ดาวศุกร์ เท่ากับ -4 m2 ค่าโชติมาตรของดาวดวงที่ 2 ให้เป็น ดาวX เท่ากับ 6 โจทย์ให้หา b1/b2 =? (B1/B2 = ?) จาก แทนค่า 6-(-4) = 2.5log(b1/b2) 10 = 2.5log(b1/b2) 10/2.5 = log(b1/b2) 4.0 = log(b1/b2)หรือ log(b1/b2) = 4.0จากสมบัติของ log 10^a = b >>>> log(b) = aดังนั้น log(b1/b2) = 4.010^4.0 = b1/b2b1/b2 = 10^4.0 เท่า ตอบตัวอย่าง 4 ดาวดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลก 25 พาร์เซค มีโชติมาตรเท่ากับ 1.40 จงหาค่าโชติมตรสัมบูรณ์วิธีทำ จากโจทย์ d = 25 p m = 1.40 หา M = ?จาก แทนค่า 1.40 - M = 5 log(25) - 5 1.40 -M = 5log(5^2) - 5 1.40 -M = 2*5log(5) - 5 1.40 -M = 10*0.699 - 51.40 -M = 6.99 - 51.40 -M = 1.99M = หาเองครับ ตอบตัวอย่าง 5 จากตารางข้างล่าง จงหาระยะทางจากจากโลกถึงดาวไรเจลวิธีทำ จากโจทย์พิจารณาดาวไรเจล m = 0.12 M = -0.80 หา d = ?จาก แทนค่า 0.12 - (-0.8) = 5 log(d) - 5 0.92 = 5log(d) - 5 0.92/5 = log(d) - 5 0.184 = log(d) - 50.184+5 = log(d)5.184 = log(d)จากสมบัติของ log 10^a = b >>>> log(b) = aจะได้ d = 10^5.184 = หาเองครับ parsec = หาเองครับ AU = หาเองครับ Lyแบบฟอร์ส่งงานแบบฟอร์มส่งงานกดที่นี้ที่เดียว เร็ว ๆนี้ ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebook
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น