• LinkedIn
  • Join Us on Google Plus!
  • Subcribe to Our RSS Feed

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การหักเหของแสง

สิงหาคม 28, 2564 // by curayou // No comments

ส่วนแรกทดสอบก่อนเรียนนะครับ👇





1. การหักเหของแสงเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลาง 2 ชนิด ทิศการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนไปเมื่อ

2. ถ้าค่าดรรชนีหักเหของแสงยิ่งมากหมายความว่าอย่างไร

3. ชื่อ นามสกุล

4. ชั้น เลขที่

ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇

การหักเหของแสง(refraction of light)

   ปกติแสงเดินทางเป็นเส้นตรงในตัวตัวกลางเดียว หมายความว่าในตัวกลางนั้นมีสมบัติเหมือนกัน ทุกประการ

   การหักเหของแสงเกิดจากการที่แสงเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน และรังสีตกกระทบไม่เท่ากับ ศูนย์องศา  จะทำให้แนวแสงเดินทางเปลี่ยนไป  เช่น  แสงเดินทางจากอากาศ(ตัวกลางที่1) ผ่านไปยังน้ำ(ตัวกลางที่2)  แนวรังสีหรือทิศทางของแสงจะเปลี่ยนไป ดังรูปข้างล่าง



จากรูป จะเห็นว่า แสงเดินทางมาจากตัวกลางที่ 1 มาตกระทบทำมุม θ1 กับเส้นแนวฉาก ซึ่งเรียกว่ามุมตกกระทบ แล้วแสงก็ผ่านมายังตัวกลางที่ 2 จะเห็นว่าทิศทางการเดินทางของแสงแสงเปลี่ยนไป โดยสังเกตจากมุมในตัวกลางที่ 2 เปลี่ยนไป มุมในตัวกลางที่ 2 นี้ เรียกว่ามุมหักเห θ2  ซึ่งทำมุมกับเส้นแนวฉาก




ดรรชนีหักเหและกฎของสเนลล์

   การหักเหของแสง ก็เป็นสมบัติเหมือนการหักเหของคลื่นอื่น ๆทั่วไปเหมือนกัน คือ เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกันผลที่เกิดขึ้นคือแสงมีอัตราเร็วที่เปลี่ยนไป

   กรณีของแสงนั้นเราจะพิจารณาถึงอัตราเร็วในตัวกลางต่าง ๆ ก็จะหมายถึงค่าดรรชนีหักเห(index of refraction,n)ของตัวกลางนั้น ๆ โดยค่าดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลางต่าง ๆหาได้จากสมการข้างล่าง


   กฎของสเนลล์

       สเนลล์เป็นผู้ค้นพบเกี่ยวกับการหักเหของคลื่นในตัวกลางต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันดังสมการข้างล่าง





การสะท้อนกลับหมด (total internal reflection)

   โดยปกติถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางโปร่งแสงไปยังตัวกลางโปร่งแสงอีกตัวกลางหนึ่งจะพบว่า แสงที่ตกกระทบยังผิวของอีกตัวกลางหนึ่ง(กรณีมุมตกกระทบไม่เท่ากับศูนย์องศา)บริเวณของรอยต่อทั้ง 2 ตัวกลางนี้จะมี แสงสะท้อนกลับมาส่วนหนึ่งและมีรังสีหักเหส่วนหนึ่ง  กรณีถ้าแสงตกกระทบแล้วปรากฎว่าไม่มีรังสีที่สามารถผ่านไปยังตัวกลางที่ 2 เลย มีการสะท้อนกลับมายังตัวกลางที่ 1 หมด สถานการณ์เช่นนี้เรียกว่าการสะท้อนกลับหมด

   มุมวิกฤต(θc) เป็นมุมตกกระทบในตัวกลางที่ 1 แล้วทำให้เกิดมุมหักเหเท่ากับ 90 องศา โดยมีเงื่อนไขคือ  เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีค่าดรรชนีหักเหมาก(n2) ไปยังตัวกลางที่มีค่าดรรชนีหักเหน้อย(n2)ดังรูปข้างล่าง



มุมวกฤตหาได้จาก



ตัวอย่างกิจกรรมการสะท้อน การหักเห

กิจกรรมแสง


แบบฟอร์ส่งงาน

แบบฟอร์มส่งงานกดที่นี้ที่เดียว เร็ว ๆนี้

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น