• LinkedIn
  • Join Us on Google Plus!
  • Subcribe to Our RSS Feed

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ส่วนประกอบของคลื่น

กรกฎาคม 05, 2564 // by curayou // 1 comment

ส่วนประกอบของคลื่น

    ให้นักเรียนสังเกตการเคลื่อนที่ของคลื่นในเส้นเชือกข้างล่าง


กราฟการกระจัดกับเวลา


    เมื่อคลื่นเคลื่อนที่หรือแผ่ไปที่อื่น โดยสมมติว่า คลื่นนี้เคลื่อนที่ไปด้วยเวลา 2T เมื่อ T คือคาบ รูปร่างของคลื่นจะเห็นว่าเป็นรูปร่างเหมือนค่าไซน์ โดยส่วนประกอบของคลื่นมีดังต่อไปนี้
    1.ความกว้างของการสั่น อยู่ในแนว X Y หรือเรียกว่าการกระจัด 
        คลื่นจะมีการกระจัดเป็นบวกคืออยู่ในระยะ จาก O ไป X
        คลื่นจะมีการกระจัดเป็นลบคืออยู่ในระยะ จาก O ไป Y
        คลื่นจะไม่มีการกระจัดเลย อยู่ในตำแหน่ง O
    2.แอมพลิจูด (A) คือ ค่าของการกระจัดมากสุด หรือค่าของการกระจัดน้อยสุด
        ในรูปคือระยะ EA,FC,GBและHD
    3.สันคลื่นหรือยอดคลื่น  คือตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุด ในรูปคือจุด AและB
    4.ท้องคลื่น คือตำแหน่งที่มีการกระจัดน้อยสุด ในรูปคือจุด CและD
    5.ความยาวคลื่น(λ) เป็นระยะทางของคลื่นที่เคลื่อนที่ได้ 1 รอบ หรือ 1 ลูกคลื่น ดังรูปข้างล่าง  
        โดยวิธีหาความยาวคลื่น
            1.วิธีที่ง่ายที่สุดคือในการวัดระยะความยาวคลื่นคือ
                1.1. วัดจากระยะสันคลื่นที่อยู่ติดกัน
                1.2. วัดจากระยะท้องคลื่นที่อยู่ติดกัน
            2. วิธีคำนวณ หาได้จาก
    6.เฟส คือตำแหน่งของอนุภาคของการสั่น โดยบอกเป็นมุม เทียบกับการเคลื่อนแบบวงกลม ดังนั้นอนุภาคที่สั่นครบ 1 รอบ จะได้ 360 องศา หรือ 2PI เรเดียน




ให้นักเรียนคลิกตามลิงค์ข้างล่าง
  1.เพื่อกำกับการเรียน
  2.ตอบได้ครั้งเดียว
  3.โปรดดูเลขที่ของตนเอง  ที่ถูกต้องในเฟสกลุ่ม









หน้า HTML ตัวอย่าง

1 ความคิดเห็น: