• LinkedIn
  • Join Us on Google Plus!
  • Subcribe to Our RSS Feed

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กำเนิดเอกภพ

กรกฎาคม 18, 2564 // by curayou // No comments

ส่วนแรกทดสอบก่อนเรียนนะครับ👇







ส่วนที่ 1 ทดสอบก่อนเรียนทำทุกข้อนะครับ จะได้รู้ว่าใครเข้าเรียน <b>แบบทดสอบก่อนเรียน</b>
1.เราสังเกตเห็นทางช้างเผือกได้ร้อยละเท่าใด

2. ในวันเดียวกัน แต่อยู่คนละประเทศสังเกตเห็นทางช้างเผือกเหมือนกันหรือไม่

3. บริเวณใดที่มีขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมดของกาแล็กซีทางช้างเผือก

4. โครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือกประกอบด้วยอะไรบ้าง

ชื่อ-นามสกุล

ชั้น เลขที่

จากคาเร็คเตอร์ภายนอกของครู นักเรียนคิดว่าครูเกิดวันอะไร ราศีอะไร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนที่2 เนื้อหาการเรียนรู้👇
 
การขยายตัวของเอกภพนำมาใช้ เป็นหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ได้อย่างไร
    แนวคำตอบ จากการศึกษาความสัมพันธ์ความเร็วในการเคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกตของกาแล็กซี
กับระยะทางของกาแล็กซี ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบว่าปัจจุบันเอกภพกำลังขยายตัว ซึ่ง
สอดคล้องกับทฤษฎีบิกแบงที่อธิบายกว่า เอกภพกำเนิดมาจากจุดเล็ก ๆ และเกิดการระเบิดอย่าง
รุนแรง ทำให้เอกภพเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีอุณหภูมิสูงมาก เมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิ
ของเอกภพจะค่อย ๆ ลดลงจนกระทั่งปัจจุบัน
เพราะเหตุใดไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศจึงถูกนำมาใช้สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง
    แนวคำตอบ จากแผนภาพวิวัฒนาการของเอกภพ พบว่าเอกภพในช่วงเวลา 10exp(-32) ปี
หลังบิกแบง เอกภพมีพลังงานเกิดขึ้นในรูปของโฟตอน แต่ปัจจุบันเอกภพมีอุณหภูมิลดลง โดย
พลังงานดังกล่าวได้เปลี่ยนความยาวคลื่นอยู่ในช่วงคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งปัจจุบันมีการตรวจวัด
คลื่นไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศได้ จึงเป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฏีบิกแบง

    การที่ฮับเบิลได้สังเกตกาแล็กซีต่าง ๆ จำนวนมากพบว่ากาแล็กซีเหล่านั้นเกิดการเลื่อนทางแดง (redshift) ของเส้นสเปกตรัม ซึ่งการเลื่อนทางแดงเกิดจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์เมื่อแหล่งกำเนิดแสงที่อยู่ไกลเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต ความถี่ของแสงจะลดลงหรือความยาวคลื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งแถบสเปกตรัมจะเลื่อนไปทางสีแดง แสดงว่ากาแล็กซีกำลังเคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกต แต่ถ้าแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่เข้าหาผู้สังเกต ความถี่ของแสงจะมากขึ้นหรือความยาวคลื่นลดลง แถบสเปกตรัมจะเลื่อนไปทางสีน้ำเงินเรียกว่าการเลื่อนทางน้ำเงิน (blueshift)
       การอธิบายถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนคือการขยายตัวของเอกภพซึ่งได้จากการตรวจวัดความเร็วกับระยะทางของกาแล็กซี และการตรวจวัดไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งแสงคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ แต่ในปัจจุบันมี        การตรวจพบคลื่นชนิดใหม่ที่เรียกว่าคลื่นความโน้มถ่วงซึ่งเป็นระลอกคลื่นที่เกิดจากการขยายและหดตัวในปริภูมิเวลา ที่เกิดจากสสารเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง เช่น การเกิดซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์ การชนกันของหลุมดำหรือดาวนิวตรอนคลื่นความโน้มถ่วงกระจายไปทั่วด้วยความเร็วของแสง แผ่ไปในเอกภพ ทำให้สามารถอธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพได้ละเอียดและแม่นยำกว่าเดิม
    ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ทำนายว่ามวลที่มีขนาดใหญ่เมื่อเคลื่อนที่สามารถแผ่คลื่นความโน้มถ่วงออกไปรอบ ๆ ได้ โดยคลื่นความโน้มถ่วงมีอยู่ในธรรมชาติตั้งแต่เอกภพกำเนิดขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถวัดคลื่นความโน้มถ่วงได้ จนกระทั่งหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก้ (LIGO : The Laser Interferometry Gravitational Wave Observatory) ได้ตรวจจับและทำการวัดการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการชนกันของหลุมดำ  ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ได้ยืนยันว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้จริง 
    การตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่มีความเข้มน้อยมาก ๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 ตรวจพบ
ครั้งที่สอง ในวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ตรวจพบครั้งที่สาม ในวันที่ 4 มกราคม 2560จากการตรวจพบทั้ง 3 ครั้ง ใช้หอสังเกตการณ์ 2 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่หลุมดำชนกันได้อย่างแม่นยำและตรวจพบครั้งที่สี่ ในวันที่ 14สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นการตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงที่ได้จากหอสังเกตการณ์เพิ่มขึ้นที่ประเทศอิตาลี คือหอสังเกตการณ์เวอร์โก (VIRGO) และจากหอสังเกตการณ์ 3 แห่งนี้สามารถตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงได้พร้อมกันทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่หลุมดำชนกัน
ได้อย่างแม่นยำขึ้น โดยก่อนหน้านี้เราใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น แสง อินฟราเรด รังสีเอกซ์สังเกตปราฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาเราย้อนอดีตไปได้อย่างมากเพียง300,000 ปีหลังบิกแบง แต่คลื่นความโน้มถ่วงสามารถพาเราย้อนเวลาไปได้ไกลกว่านั้น
กาแล็กซี่ 
กาแล็กซีทางช้างเผือกมีลักษณะอย่างไร
    แนวคำตอบ มีลักษณะคล้ายกังหัน และมีคานยาวอยู่ตรงแกนกลาง
โครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือกประกอบด้วยอะไรบ้าง
    แนวคำตอบ ประกอบด้วย นิวเคลียส จาน ฮาโล
บริเวณใดของกาแล็กซีที่มีดาวฤกษ์หนาแน่นที่สุด
    แนวคำตอบ บริเวณนิวเคลียส
บริเวณใดที่มีขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมดของกาแล็กซีทางช้างเผือก
    แนวคำตอบ บริเวณฮาโล
ระบบสุริยะอยู่ที่ตำแหน่งใดในกาแล็กซีทางช้างเผือก
    แนวคำตอบ อยู่ตรงบริเวณแขนข้างหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก
ถ้านักเรียนจะติดต่อสื่อสารกับเพื่อนต่างดาว นักเรียนจะบอกตำแหน่งของนักเรียนในเอกภพ
อย่างไร เพื่อนต่างดาวจึงสามารถติดต่อกลับมาได้ (เราอยู่ที่ไหนบนโลก โลกอยู่ที่ไหนในระบบ
สุริยะ ระบบสุริยะอยู่ที่ไหนในกาแล็กซี)
    แนวคำตอบ ระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยอยู่ห่างจากศูนย์กลางกาแล็กซีทาง
ช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง และโลกของเราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้าน
กิโลเมตร โดยตำแหน่งพิกัดของนักเรียนบนโลกจะขึ้นกับตำแหน่งที่นักเรียนอยู่ เช่น ถ้านักเรียน
อยู่ที่กรุงเทพฯจะมีละติจูด 13.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก
กาแล็กซีทางช้างเผือกและทางช้างเผือกแตกต่างกันอย่างไร
    แนวคำตอบ กาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนมากที่อยู่รวมกันด้วย
แรงโน้มถ่วง มีลักษณะคล้ายกังหันมีคาน ทางช้างเผือกเป็นแสงจากดาวฤกษ์จำนวนมากที่อยู่ใน
แนวระนาบของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มองเห็นได้จากโลกโดยจะเห็นเป็นแถบฝ้าจาง ๆ
พาดผ่านท้องฟ้าเป็นทางยาว
ทางช้างเผือกที่เรามองเห็นได้จากโลกคือส่วนใดของกาแล็กซีทางช้างเผือก
    แนวคำตอบ เป็นกลุ่มดาวฤกษ์บริเวณจานและนิวเคลียสของกาแล็กซีทางช้างเผือก
เราสามารถสังเกตเห็นทางช้างเผือกได้ในช่วงเดือนใด จากกลุ่มดาวอะไร
    แนวคำตอบ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตทางช้างเผือกได้แก่ปลายเดือนเมษายนถึงเดือน
ตุลาคม โดยใจกลางของทางช้างเผือกจะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องและกลุ่มดาวคนยิงธนู
เพราะเหตุใดในแต่ละเดือนเราจึงเห็นทางช้างเผือกมีลักษณะแตกต่างกัน
    แนวคำตอบ เนื่องจากโลกเปลี่ยนตำแหน่งในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้คนบนโลกมองเห็น
แถบฝ้าของทางช้างเผือกเปลี่ยนแปลงไปตามมุมมองของผู้สังเกตบนโลก
นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปร่างเป็นกังหันมีคาน
    แนวคำตอบ โดยการนำภาพถ่ายท้องฟ้าทุกทิศทางมาต่อกันตามตำแหน่งที่ใช้พิกัดกาแล็กซี ซึ่ง
มีแกนนอนเป็นเส้นที่ผ่านทางช้างเผือก จะได้รูปร่างตามความหนาแน่นของดาวฤกษ์โดยบริเวณ
ใจกลางจะมีดาวอยู่อย่างหนาแน่น และลดลงไปตามแขนทั้งสองข้าง ส่วนบริเวณใจกลางที่เป็น
คานของกาแล็กซีทางช้างเผือกศึกษาโดยใช้การตรวจจับอินฟราเรดและคลื่นวิทยุ (ซึ่งสามารถ
ทะลุผ่านฝุ่นได้) จากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ในบริเวณใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือก พบว่า
แหล่งกำเนิดเหล่านั้นมีการเรียงตัวเป็นแถวต่อเนื่องกันในแนวเส้นตรง นักดาราศาสตร์จึงสรุป
ว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปร่างกังหันที่มีคาน
เพราะเหตุใดเราไม่สามารถเห็นกาแล็กซีทางช้างเผือกทั้งหมด
    แนวคำตอบ เพราะเราอยู่ภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก นอกจากนั้นนักดาราศาสตร์ยังพบว่ามี
สสารภายในกาแล็กซีทางช้างเผือกถึงร้อยละ 90 ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้
ถ้าหากในอนาคตกาแล็กซีทางช้างเผือกและกาแล็กซีแอนดรอเมดาเคลื่อนที่ชนกัน นักเรียนคิด
ว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกของเราหรือไม่ อย่างไร
    แนวคำตอบ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโลก เนื่องจากดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในแต่ละกาแล็กซีอยู่ห่าง
กันมาก ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยมากที่ดาวฤกษ์ต่าง ๆ จะมาชนกัน ส่วนแรงโน้มถ่วงของกาแล็กซี
ทั้งสองจะทำให้รูปทรงของกาแล็กซีเปลี่ยนไปซึ่งกาแล็กซีทั้งสองจะรวมกันเป็นกาแล็กซีที่มีขนาด
ใหญ่ขึ้น
 
    

  



-----------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนที่ 3 แบบเช็คชื่อ👇
ให้นักเรียนคลิกตามลิงค์ข้างล่าง
  1.เพื่อกำกับการเรียน
  2.ตอบได้ครั้งเดียว
  3.โปรดดูเลขที่ของตนเอง  ที่ถูกต้องในเฟสกลุ่ม









หน้า HTML ตัวอย่าง

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น